Events Conclusion

Image

Isan Hackathon : Smart City

Mobilisation

05-07-2019 12:00 น. ถึง 07-07-2019 17:30 น.

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

จำนวนผู้ลงทะเบียน รวม 276 คน

รายละเอียดหลักสูตร / Description


พัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการอย่างเข้มข้นของนักศึกษา พัฒนาโจทย์การวิจัยและพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นเมืองที่อัจฉริยะรวมถึงพัฒนาระบบนิเวศผู้ประกอบการและนวัตกรรมที่เอื้ออำนวยการเริ่มต้นและเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรมและประชาชน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เกิดการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีไปบูรณาการและประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาในบริบท Smart City อันประกอบด้วย 1.1 Smart Economy – ระบบเศรษฐกิจอัจฉริยะ/ระบบรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าและบริการต่างๆ /ระบบบริหารจัดการในการเพิ่มผลิตผลทางเศรษฐกิจ เช่น Smart Agriculture, Smart Aquaculture หรือ Smart Procurement / นวัตกรรมทางการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูง (Smart Tourism) 1.2 Smart Mobility – ระบบการขนส่งมวลชน (Smart Transportation) และการบริหารจัดการสินค้าอย่างชาญฉลาด (Smart Logistic) 1.3 Smart Environment – ระบบการบริหารสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะ/การจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน 1.4 Smart Living – ความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการใช้ชีวิต/การมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (Smart Health & Wellness)/ สิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน 1.5 Smart Government – ระบบการบริหารจัดการภาครัฐอัจฉริยะ/ การจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่/ การพัฒนาและการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่างๆ 2. เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการพัฒนา Smart City และสร้างความเข้มแข็งแขงของระบบนิเวศผู้ประกอบการและนวัตกรรม 3. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และประชาชนในการพัฒนาชุมชนและสังคมเมือง

กำหนดการ / Agenda


เวลา

กิจกรรม

วันที่  5 กรกฎาคม 2562

 

12.00 – 13.00  น.

ลงทะเบียนและรับอาหารว่าง

13.00 – 13.30 น.

พิธีเปิดกิจกรรม Isan Hackathon #8 : Smart City โดยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาเทคโนโลยี

13.30 – 14.00 น.

เสนอประเด็นปัญหา 

14.00 – 15.00 น.

บรรยายแนวทางการทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง (Empathy) และการเก็บข้อมูล

+ User Center design โดย คุณวิชยพัฐ เสนาปัก School of Changemakers

15.00 – 15.30 น.

บรรยาย การหาแหล่งข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล Big Data และ Data Analytic โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณีรัตน์  วงษ์ซิ้ม คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

16.00 – 16.30 น.

Technology Show Case By OSD & Ais

16.30 – 18.00 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการ

18.00 – 19.00 น.

รับประทานอาหารเย็น

19.00 – 23.00 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการ

23.00 – 23.30 น.

รับประทานอาหารว่าง

วันที่ 6 กรกฎาคม 2562

 

09.00 – 10.00 น.

ลงทะเบียนและทานอาหารเช้า

10.00 – 11.00 น.

เปิดให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน : IOT By คุณพาโชค พิมเลขา

11.00 – 12.00 น.

เปิดให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน : UX&UI By คุณศิรินยา บางเลา

12.00 – 13.00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.00 น.

เปิดให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน : Software By คุณอรรถพงศ์ ลิมศุภนาค

14.00 – 15.00 น.

เปิดให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน : AR By คุณอภิชัย เรืองศิริปิยะกุล

14.30 – 15.00 น.

รับประทานอาหารว่าง

15.00 – 16.00 น.

เปิดให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน : Pitching By คุณอานนท์ บุณยประเวศ

16.00 – 17.00 น.

เปิดให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน : Chatbot By คุณชวัลวิทย์ พูลศรี

17.00 – 18.00 น.

เปิดให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน : Sensor By คุณคมธัช วัฒนศิลป์        

18.00 – 19.00 น.

รับประทานอาหารเย็น

19.00 – 20.00 น.

เปิดให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน : 3D Model By คุณเมธี ประสมทรัพย์

20.00 – 21.00 น.

เปิดให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน : Data Science By ผศ.ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม

21.00 – 22.00 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการ

22.00 - 22.30 น.

พักรับประทานอาหาร (มื้อดึก)

22.30 – 00.00 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการ

วันที่ 7 กรกฎาคม 2562

 

08.00 – 09.00 น.

ส่ง Pitch deck และ Prototype (ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับประทานอาหารเช้า)

09.00 – 12.00 น.

นำเสนอแนวคิดและต้นแบบผลิตภัณฑ์/บริการ

12.00 – 12.45 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

12.45 – 14.45 น.

นำเสนอแนวคิดและต้นแบบผลิตภัณฑ์/บริการ

14.45 – 15.00 น.

รับประทานอาหารว่าง

15.00 – 17.00 น.

นำเสนอแนวคิดและต้นแบบผลิตภัณฑ์/บริการ

17.00 – 17.15 น.

พิธีมอบรางวัลและพิธีปิด  โดยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาเทคโนโลยี

   

วิทยากร / Instructor


Dr. Mullika Sungsanit

Vice-Rector for Engagement, Innovation and Entrepreneurship and Head of SEDA
View Profile

Bongse Varavuddhi Muenyuddhi

Chief Academic Support
View Profile

Pachok Pimlakar

MD at Chok intertech
View Profile

Katharpisit Khuphetcharat

MD at Chok intertech (Technology and Smart Farm)
View Profile

Chawanwit Poolsri

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ที่ การประปาส่วนภูมิภาค
View Profile

Apisara Wichean

CEO & Co-Founder Farmz Master
View Profile

Prasert Jaipet

Co-founder, CEO of Localhost co, ltd
View Profile

Arnon Boonyapravase

Co-Founder & CEO @ TechFarm
View Profile

Patai Padungtin

Principle & Evangelist @ Builk.Com
View Profile

Vichayapat Senapak

Project Manager @ School of Changemakers
View Profile

Komthach Wattanasil

CEO SOG FARMING
View Profile

Manirath Wongsim,Ph.D.

หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
View Profile

ผลการจัดกิจกรรม


จำนวนแนวคิดเชิงธุรกิจที่เกิดขึ้น 25 แนวคิด

ชื่อกลุ่ม แนวคิดโดยสังเขป
REBORN-Kเป็นระบบกรองน้ำอัจฉริยะ เพื่อบริหารจัดการการใช้งานน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค
TYCOONSระบบการชำระเงินบนขนส่งสาธารณะผ่านการตรวจจับใบหน้า (Face recognition)
E-TOPพรีออเดอร์สินค้า OTOP ผ่านทางเว็บไซต์ ผู้สั่งซื้อสามารถเลือกรูปแบบสินค้าได้ เช่น สีขนาด ลวดลาย หรือ ผู้ใช้มีรูปแบบของสินค้าแล้วสามารถคุยกับผู้ขายได้โดยตรง
ROIPApplication บนมือถือ, web Application ผู้ขายสินค้าด้านหัตถกรรม-ภูมิปัญญา นำสินค้าที่ตนผลิตเข้าตลาดโดยที่ไม่ต้องเดินทาง
NBRตู้แยกขยะกับแอพพลิเคชั่นเกมที่สะสมพ้อยจากการที่นำขยะไปใส่ในตู้ ผู้ใช้โหลดแอปใส่มือถือ ทำการใส่ Username และเมื่อต้องการสะสมพ้อยให้นำขยะไปใส่ในตู้แยกขยะ และใส่รหัสเพื่อให้เชื่อมต่อกับแอปในมือถือผู้ใช้สามารถ นำพ้อยไป ปลดไอเทมในเกมล็อค หรือใช้พ้อยแทนเงินได้
Fast Postขนส่งพัสดุทางรถสาธารณะ
CAR-T (คาร์ที)ระบบคิดเงินลานจอดรถอัจฉริยะ
Check Mateเป็นปลอกคอที่มีเซ็นเซอร์อยู่ภายในติดไว้ที่ตัววัวนม เพื่อตรวจจับพฤติกรรมการเป็นสัด เมื่อเซ็นเซอร์จับได้ว่าวัวเป็นสัด ก็จะส่งข้อมูลไปประมวลผลที่ Cloud Server และส่งข้อมูลการแจ้งเตือนและรูปภาพไปให้ผู้ใช้งานผ่าน Mobile Application
เจ้าถิ่น แอพพลิเคชัน (JAOTHIN APPLICATION)ผู้ที่มียานพาหนะและต้องการสร้างรายได้เสริม ด้วยการเป็นอาสานำเที่ยวให้บริการยานพาหนะ คนขับรถ และเป็นที่ปรึกษาให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ที่ต้องการเที่ยวแต่ประสบปัญหาการเดินทางเรื่องยานพาหนะ เส้นทาง หรือแม้กระทั่งสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในท้องถิ่นที่ไม่เป็นที่นิยม
Voice of Natureคือเป็นกล่องอุปกรณ์ IOT ที่นำไปติดไว้ในป่ายึดกับต้นไม้ เพื่อตรวจจับการลักลอบตัดไม้ และฆ่าสัตว์ป่า โดยกล่องจะมีไมโครโฟน เมื่อระบบตรวจพบเสียงเลื่อยยนต์ หรือ เสียงปืนระบบจะส่งค่าแจ้งเตือนไปที่หน้าเว็บไซต์ของเจ้าหน้าที่แสดงพิกัดที่เกิดเหตุและบอกลักษณะเสียงที่ตรวจสอบ เช่น เสียงของเลื่อยยนต์หรือเสียงปืน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประเมินสถานการณ์และไปที่เกิดเหตุตรงจุดและรวดเร็ว
พร้อมจ่ายAll In One ในการรับเงินของร้านค้าผ่านเครื่อง
Strublate (Bio PC)นำเม็ด Bio-PC ที่สังเคราะห์ได้ไปใช้ในการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น แว่นตา นาฬิกา มือถือ หมวกกันน็อค กันชนรถยนต์ ที่ครอบไฟท้ายรถ ขวดนม ของเล่นเด็ก
Smart TourApplication สื่อกลางที่รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวตามท้องถิ่นทั่วภาคอีสานและมีบริการนำเที่ยวโดยไกด์ท้องถิ่นหรือผู้เล่าเรื่องชุมชน นักท่องเที่ยวสามารถเลือกชมและเลือกซื้อทริปที่น่าสนใจ และซื้อได้ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Unseen Local ทริป
KRT (Korat Transports)1.APP 2.Open APP เลือกสถานที่ เลือกรถ/เลือกเส้นทาง 4.เดินทาง 5.ค่าเดินทาง
No Nameนาฬิกาแจ้งเตือนเมื่ออยู่ในสถานะการณ์ฉุกเฉิน
เฮดตี้ (Food Socity)ตลาดซื้อขายอาหารสุขภาพออนไลน์ที่ครอบคลุมถึงพื้นที่ในท้องถิ่น เพื่อให้คนรักสุขภาพสามารถหาอาหารทานได้ง่ายขึ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ชิพกับเดลใช้สำหรับนับหมูที่เป็นลูกหมู ในกระบวนการซื้อและขาย
Com Rmu1. Social Enterprise 2. หา อาสาสมัคร เพื่อนำส่งผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลอย่างสมบูรณ์
BMTทางโรงพยาบาลนำผลิตภัณฑ์ ถุงไหมใช้ในการปั้นรูปเป็นโครงโดยใช้ 3D Printing เพื่อนำโครงดังกล่าวใช้ในการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ เช่น เนื้อเยื่อกระดูก (Artificial tissue)
กุ้งแช่ กุ้งแช่ กุ้งแช่ กุ้งแช่ กุ้งแช่ผลิตภัณฑ์ HEPATICA (เฮพปาติกา) คือเครื่องตรวจพยาธิในอาหารที่ใช้หลักการของ Biosensor เพียงคุณนำเครื่องไปจิ้มในอาหารที่น่าสงสัย ที่จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าในอาหารนั้นมีพยาธิหรือไม่
UBU Teletubbiesเป็นการทำงานที่มีอุปกรณ์ 2 อย่างคือ 1 ชุดควบคุม 2 ชุดส่งข้อมูลในการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งบอร์ด ควบคุมจะขึ้นอยู่กับเซ็นเซอร์ โดยเซ็นเซอร์พื้นฐานที่ใช้ในโรงเรือน คือความชื้นและอากาศ แต่การควบคุมจะขึ้นอยู่กับค่าที่เซ็นเซอร์ตรวจวัดได้
VGETเป็น Application สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผักและผู้ค้าส่งได้ติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรง โดยที่เกษตรกรไม่ถูกเอาเปรียบด้านราคา โดย Application VGET สามารถช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกในการขายสินค้ามากขึ้น และตัวผู้ค้าส่งเองก็สามารถติดต่อกับเกษตรกรได้โดยผ่าน Application VGET และเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเกี่ยวกับสินค้าเกษตรเช่น ปุ๋ย เครื่องจักรกลต่างๆ สามารถขายใน Application ให้กับเกษตรกรได้ VGET
Esan Codingมีคนกล่าวว่า เมืองจะดีคนต้องดีก่อน ซึ่งการสร้างภาพ พฤติกรรมที่ดี ต่อเมือง ต่อส่วนรวมนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แล้วถ้าหากว่าเราสร้าง motivating ได้หละ เรานำ block chain มาใช้ในการสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมผู้คนในทางที่ดีต่อการใช้ระบบ Smart City ในรูปแบบ Token reward Point เราทำ Application ที่ใช้ Reward Point ซึ่งมาจากรูป การที่ผู้ใช้ได้เลือกใช้บริการระบบ Smart City ต่างๆหรือบริษัทเอกชนรัฐบาลที่เข้าร่วมกับ Application สมมุติว่าระบบขนส่งสาธารณะในเมืองของคุณ หากคุณในฐานะพลเมือง ตัดสินใจว่าคุณจะใช้ระบบขนส่งสาธารณะในสัปดาห์นี้แทนที่จะขับรถไปทำงานทุกวันทุกครั้งที่คุณชำระผ่าน Application หรือสแกน QR Code ร่วมกับ Application จะได้รับ Reward Point เพื่อใช้ในการแลกของหรือส่วนลดบริการต่างๆจากบริษัทเอกชนและรัฐบาลที่ร่วมกับเรานอกจากนั้นคุณยังได้ Budget ต่างๆเพื่อแชร์ไปยัง Facebook หรือ IG ชวนเพื่อนมาใช้ระบบด้วยกัน
Carry Lifeกรณีที่คนขับหลับในแล้วหักพวงมาลัยรถไปทางใดทางหนึ่งเป็นเวลา 3 วินาทีจะทำให้ตัวเซ็นเซอร์วัดความเอียงทำงานเชื่อมไปยังลำโพงทำให้มีสัญญาณเตือนดังขึ้นเพื่อให้ผู้ขับกับผู้โดยสารมีสติแล้วหาที่พักรถหรือเปลี่ยนคนขับ
Octopus 88อุปกรณ์ที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ขับขี่อุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ อุปกรณ์ติดเอาไว้ที่หมวกกันน็อค เมื่อผู้ขับขี่เกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์เซ็นเซอร์ที่อุปกรณ์จะตรวจจับความเสี่ยงและ สั่นของรถ รวมถึงการหมุนแรงกระแทกและพิกัดที่อยู่ผ่าน GPS เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีเสียงแจ้งหากไม่ต้องการความช่วยเหลือ ต้องมีการกดยกเลิกข้อมูลหากปล่อยสัญญาณดังต่อไป ตามเวลาที่กำหนด จะมีการส่งหน่วยช่วยเหลือไป

บรรยากาศการจัดกิจกรรม



ผู้ดูแลกิจกรรม / Organizer


KRITTAPHAT TRIWATCHARANON

Community And Activities Curators
krittaphat@g.sut.ac.th
0959196645

Student Entrepreneurship Development Academy